องค์กรของท่านปฏิบัติตามกฎหมายป้องกันและปราบปรามฟอกเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้วหรือยัง?


ท่านมีระบบ INTERNAL CONTROL ด้านการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินอย่างเข้มแข้งหรือไม่


พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติมฉบับต่างๆ นอกจากจะเป็นกฎหมายที่มีจุดเด่นในการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินของอาชญากรหรือผู้กระทำความผิดมูลฐานกว่า 29 มูลฐานแล้ว ยังเป็นกฎหมายที่กำหนดภาระหน้าที่ให้ผู้ประกอบธุรกิจ ทั้งสถาบันการเงินและผู้ประกอบอาชีพ 10 กลุ่มธุรกิจ ต้องมีมาตรการในการจัดให้ลูกค้าแสดงตน มาตรการบริหารความเสี่ยงด้านการฟอกเงินและการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูงภายในองค์กร มาตรการตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้า มาตรการในการบริหารความเสี่ยงผลิตภัณฑ์และบริการ รวมถึงมาตรการในการ ควบคุมภายใน องค์กร


กฎกระทรวงการตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้า พ.ศ. 2563 ข้อ 49 วรรค 2 กำหนดให้สถาบันการเงินและผู้ประกอบอาชีพตามมาตรา 16 ต้องมี กลไกในการตรวจสอบภายในที่เป็นอิสระ ด้านการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินภายในองค์กร ประกอบกับ ประกาศสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน เรื่อง การกําหนดและดําเนินการตามนโยบายและระเบียบวิธีการเกี่ยวกับการควบคุมภายใน ของสถาบันการเงินและผู้ประกอบอาชีพตามมาตรา 16 พ.ศ. 2564 กำหนดให้ต้องมีส่วนงานหรือพนักงานหรือผู้ตรวจสอบจากภายนอก รับผิดชอบในการตรวจสอบภายในที่เป็นอิสระจากการปฏิบัติงานด้านการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและการป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทําลายล้างสูงภายในองค์กร เพื่อตรวจสอบการดําเนินงานและการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทําลายล้างสูงโดยเพื่อให้เกิดความเป็นอิสระในการตรวจสอบ เราจึงขอนำเสนอบริการ การดำเนินการควบคุมภายใน (ตรวจสอบ) ด้าน ด้าน AML/CTPF สำหรับองค์กรท่าน โดยจัดทำ รายงานผลการตรวจสอบภายในด้าน AML/CTPF เสนอต่อผู้บริหารขององค์กรท่าน เพื่อสอดคล้องกับประกาศสำนักงาน ปปง. ดังกล่าว


*AML/CTPF = Anti-Money Laundering/Counter-Terrorism and Proliferation of Weapon of Mass Destruction Financing การป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง

ความผิดมูลฐานของการฟอกเงินทั้ง 29 มูลฐาน


  1. ยาเสพติด
  2. การค้ามนุษย์
  3. การฉ้อโกงประชาชน
  4. การยักยอก/ฉ้อโกง / ประทุษร้ายต่อทรัพย์ หรือกระทำโดยทุจริตตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์หรือตลาดหลักทรัพย์
  5. ความผิดต่อหน้าที่ราชการ
  6. การกรรโชก หรือ รีดเอาทรัพย์
  7. การหลบหนีศุลกากร
  8. การก่อการร้าย
  9. การพนัน
  10. การเลือกตั้ง
  11. อั้งยี่ / องค์กรอาชญากรรม
  12. องค์กรอาชญากรข้ามชาติ
  13. รับของโจรลักษณะเป็นการค้า
  14. ปลอมแปลงเงินตรา ลักษณะเป็นการค้า
  15. ความผิดเกี่ยวกับการค้าและทรัพย์สินทางปัญญา
  16. ปลอมเอกสารสิทธิ บัตรอิเล็กทรอนิกส์ Passsport เป็นปกติธุระ / เพื่อการค้า
  17. ทรัพยากรธรรมชาติ มีลักษณะเป็นการค้า
  18. ประทุษร้ายชีวิต / ร่างกายสาหัส ตาม ป.อ. เพื่อประโยชน์ ซึ่งทรัพย์สิน
  19. หน่วงเหนี่ยวกักขัง ตาม ป.อ. เพื่อเรียกรับผลประโยชน์
  20. ลักทรัพย์ ยักยอก ฉ้อโกง ชิงปล้น มีลักษณะเป็นการค้า
  21. โจรสลัด
  22. ซื้อขายหลักทรัพย์
  23. ความผิดเกี่ยวกับอาวุธ
  24. สนับสนุนการเงินแก่การก่อการร้าย
  25. สนับสนุนการแพร่ขยายอาวุธที่มีอำนาจทำลายล้างสูง
  26. ความผิดเกี่ยวกับหลบเลี่ยงภาษี
  27. จูงใจให้สมัคร/ถอนการสมัคร สว.
  28. บังคับใช้แรงงานหรือบริการ เป็นเหตุให้เป็นอันตรายสาหัสหรือถึงแก่ความตาย
  29. จูงใจให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งลงคะแนนหรืองดเว้นการลงคะแนนให้แก่ผู้สมัครเลือกตั้ง
    

ที่มา : เวปไซต์สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน

กลุ่มธุรกิจที่มีหน้าที่รายงานธุรกรรมและตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้า



สถาบันการเงินและผู้ประกอบอาชีพที่มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายฟอกเงิน ได้แก่ กลุ่มธุรกิจดังต่อไปนี้


  1. ธนาคาร (30 แห่ง)
  2. สถาบันการเงินเฉพาะกิจ (8 แห่ง)
  3. สหกรณ์ (ที่มีต้นทุนดำเนินการซึ่งมีมูลค่าหุ้นรวมตั้งแต่ 2 ล้านขึ้นไป) (3,530 แห่ง)


  1. ผู้ประกอบธุรกิจรับแลกเปลี่ยนเงิน (MC) นิติบุคคล (1,992 แห่ง)
  2. ตัวแทนโอนเงินระหว่างประเทศ (MT) (5 แห่ง)
  3. ผู้ประกอบธุรกิจระบบชำระเงินและบริการชำระเงิน (E-Patment) (69 แห่ง)
  4. ผู้ประกอบอาชีพตามมาตรา 16 (6) สินเชื่อส่วนบุคคล (38 แห่ง)
  5. ผู้ประกอบอาชีพตามมาตรา 16 (8) บัตรเครดิต (7 แห่ง)
  6. ผู้ประกอบอาชีพตามมาตรา 16 (10) แลกเปลี่ยนเงิน (MC) บุคคลธรรมดา (115 แห่ง)


  1. บริษัทหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (95 แห่ง)
  2. ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลและผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัล (11 แห่ง)
  3. ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (3 แห่ง)
  4. ผู้ประกอบอาชีพตามมาตรา 16 (1) ที่ปรึกษาทางการเงิน (34 แห่ง)
  5. ผู้ประกอบอาชีพตามมาตรา 16 (2) ค้าอัญมณี เพชรพลอย ทองคำ (5,136 แห่ง)


  1. บริษัทเงินทุน (2 แห่ง)
  2. บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ (3 แห่ง)
  3. บริษัทบริหารสินทรัพย์ (63 แห่ง)
  4. บริษัทประกันชีวิต (23 แห่ง)
  5. บริษัทประกันวินาศภัย (58 แห่ง)
  6. ผู้ประกอบอาชีพตามมาตรา 16 (4) นายหน้าหรือตัวแทนซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ (728 แห่ง)
  7. สำนักงานที่ดินกรุงเทพมหานคร สำนักงานที่ดินจังหวัด และสำนักงานที่ดินสาขา


  1. ผู้ประกอบอาชีพตามมาตรา 16 (3) ค้าหรือให้เช่าซื้อรถยนต์ (1,210 แห่ง)
  2. ผู้ประกอบอาชีพตามมาตรา 16 (5) ค้าของเก่า (1,446 แห่ง)



ที่มา : เวปไซต์สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน

กฎหมายฟอกเงิน กำหนดหน้าที่ให้สถาบันการเงินและกลุ่มผู้ประกอบอาชีพตามมาตรา 16 (พรบ.ปปง.) ต้องมีหน้าที่ในการประเมินความเสี่ยงภายในองค์กรด้านการฟอกเงิน การรายงานธุรกรรม การจัดให้ลูกค้าแสดงตน และต้องดำเนินกระบวนการตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้าจนกว่าจะยุติความสัมพันธ์


การประเมินความเสี่ยงด้านการฟอกเงินสำหรับองค์กร


ธุรกรรมที่ต้องรายงานต่อสำนักงาน ปปง.

สถาบันการเงินและผู้ประกอบอาชีพตามมาตรา 16 ต้องจัดให้ลูกค้าแสดงตนก่อนหรือขณะทำธุรกรรม

สถาบันการเงินและผู้ประกอบอาชีพตามมาตรา 16 ต้อง ตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้าทุกรายจนกว่าจะยุติความสัมพันธ์

ดังที่กล่าวมาแล้ว จะเห็นได้ว่า การปฏิบัติตามกฎหมายฟอกเงินสำหรับภาคธุรกิจที่กฎหมายกำหนดนั้น มีขั้นตอนการปฏิบัติและกระบวนการที่ซับซ้อน และเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของบุคลากรหลายส่วนงาน การกำกับตรวจสอบการปฏิบัติตามกฎหมายฟอกเงินภายในองค์กร จึงต้องอาศัยความเชี่ยวชาญด้านกฎหมายและความเข้าใจในวิธีปฏิบัติ รวมถึงเข้าใจบทบาทของบุคลากรในแต่ละระดับตั้งแต่ BUSINESS UNITS ซึ่งเป็น First Line of Defense จนถึงระดับ INTERNAL AUDIT ซึ่งเป็น Third Line of Defense


บริษัทซึ่งมีทีมงานที่เชี่ยวชาญด้านการให้คำปรึกษาในการปฏิบัติตามกฎหมายฟอกเงินมากว่า 20 ปี จึงขอเสนอบริการ OUTSOURCING AML/CTF/FP INTERNAL CONTROL สำหรับกลุ่มธุรกิจที่เป็น ผู้มีหน้าที่รายงานธุรกรรม เพื่อรองรับการปฏิบัติตามกฎหมายฟอกเงินในการควบคุมภายในด้านการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง สอดคล้องกับประกาศสำนักงาน ปปง. เรื่อง การกำหนดและดำเนินการตามนโยบายและระเบียบวิธีการเกี่ยวกับการควบคุมภายในของสถาบันการเงินและผู้ประกอบอาชีพตามมาตรา 16 พ.ศ. 2564

OUTSOURCING AML/CTPF INTERNAL CONTROL


ดำเนินงานโดยทีมงานผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน


ขั้นตอนการดำเนินงาน


ขั้นตอนที่หนึ่ง : การกำหนดผู้ประสานงานในการการควบคุมภายใน (การตรวจสอบ) ด้าน AML/CTF/FP

จัดให้มีการประชุมกันกับคณะทำงานของบริษัท และ ทีมผู้ตรวจสอบ โดยกำหนดตัวบุคลากรที่จะทำหน้าที่ในการประสานงาน ซึ่งบุคลากรดังกล่าวจะเป็นผู้รับรายการเอกสารที่ผู้ตรวจสอบขอให้นำส่ง เพื่อตรวจสอบการปฏิบัติตามกฎหมาย เช่น


  • นโยบายด้านการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
  • นโยบายเรื่องการบริหารความเสี่ยงด้านการฟอกเงิน
  • รายงานการประเมินความเสี่ยงด้านการฟอกเงินประจำปี
  • นโยบายการรับลูกค้า
  • นโยบายการประเมินความเสี่ยงผลิตภัณฑ์และบริการ
  • นโยบายการตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้า
  • การรายงานธุรกรรม
  • รายงานการตรวจสอบข้อเท็จจริงธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัย
  • โครงการฝึกอบรมสำหรับพนักงานและผู้บริหารในปีที่ผ่านมา
  • รายงานการการควบคุมภายใน (การตรวจสอบ) เรื่องการปฏิบัติตามกฎหมายฟอกเงินในปีที่ผ่านมา เป็นต้น


ขั้นตอนที่สอง : ผู้ตรวจสอบดำเนินการตรวจสอบงานด้านเอกสาร (Offsite)

เมื่อได้รับบรรดาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติตามกฎหมาย ทีมผู้ตรวจสอบ จะดำเนินการสอบทานบรรดาเอกสารทั้งหลาย กับข้อปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (กฎหมาย ปปง.) และกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง (กฎหมาย ปกอ.)


โดยทีมผู้ตรวจจะดำเนินการสอบทานตาม Audit Program ที่จัดทำขึ้น ซึ่งอ้างอิงจาก พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 (พรบ. ปปง.) และที่แก้ไขเพิ่มเติม, พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง พ.ศ. 2559 (พรบ. ปกอ.) และที่แก้ไขเพิ่มเติม, กฎกระทรวง, ระเบียบ, ประกาศคณะกรรมการ ปปง. และ ประกาศสำนักงาน ปปง. ที่เกี่ยวข้อง



เมื่อสอบทานครบถ้วนแล้ว ทีมผู้ตรวจสอบ จะรายงานผลการตรวจสอบด้านเอกสารเบื้องต้น และประสานงานกับคณะทำงานของบริษัท เพื่อแจ้งแผนการเข้าตรวจสอบการปฏิบัติตามกฎหมาย ณ สถานประกอบการ/สำนักงานของบริษัท โดยในการประสานงานขั้นตอนนี้ ทีมผู้ตรวจจะขอนัดหมายและประสานดำเนินการดังนี้


  • วัน-เวลา ที่จะเข้าตรวจสอบ ณ สถานประกอบการ/สำนักงาน
  • ส่วนงาน/ฝ่าย/แผนก ที่ทีมผู้ตรวจจะเข้าตรวจสอบ
  • การเตรียมข้อมูล เอกสาร ที่จะต้องเตรวจสอบ
  • การกำหนดประเด็นในการตรวจสอบ สอบถามและขอข้อมูล
  • การกำหนดบุคลากรของส่วนงาน/ฝ่าย/แผนก ซึ่งเป็นตัวแทนในการให้ข้อมูลและตอบข้อซักถาม



ขั้นตอนที่สาม
: การเข้าตรวจสอบการปฏิบัติ ณ สถานประกอบการ/สำนักงาน (Onsite)

ทีมผู้ตรวจสอบ จะเข้าตรวจสอบการปฏิบัติงานตามกฎหมาย ปปง. และ กฎหมาย ปกอ. ของบริษัท ณ สถานประกอบการหรือสำนักงาน ที่ซึ่งบรรดาบุคลากร เอกสาร ข้อมูล รวบรวมอยู่ โดยทีมผู้ตรวจจะดำเนินการดังต่อไปนี้


นัดหมายเพื่อเข้าตรวจ โดยบริษัทกำหนดตัวบุคลากรที่รับผิดชอบในงานที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติตามกฎหมาย ปปง. และ กฎหมาย ปกอ. ในส่วนงาน(อย่างน้อย) ได้แก่


  • ส่วนงาน Business Unit หรือ Front Line
  • ส่วนงาน Compliance หรือ Second Line
  • ส่วนงานด้านการจัดเก็บข้อมูลลูกค้า
  • ส่วนงานด้านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (IT) กรณีที่บริษัทใช้ Software ในการประมวลผลความเสี่ยงและการทำธุรกรรมของลูกค้า


เมื่อเข้าตรวจในแต่ละส่วนงาน ทีมผู้ตรวจสอบจะสอบถามข้อเท็จจริง รายละเอียดการปฏิบัติงาน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน และข้อมูลที่เกี่ยวข้อง โดยอ้างอิงจากนโยบายหรือวิธีปฏิบัติ/แนวปฏิบัติ ที่ส่วนงานนั้นๆมีหน้าที่ รับผิดชอบหรือปฏิบัติตาม รวมถึงอ้างอิงจากบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ปปง. และ ปกอ. ที่เกี่ยวข้องกับส่วนงานนั้นๆ


ในการตรวจสอบการปฏิบัติของส่วนงานต่างๆ ทีมผู้ตรวจสอบอาจขอทราบข้อมูล สถิติ ตัวอย่างเอกสาร ดูระบบงาน เพิ่มเติมไปจากเอกสารที่เคยได้รับในขั้นตอนที่หนึ่งและขั้นตอนที่สอง เพื่อมั่นใจว่า ส่วนงานที่ตรวจสอบนั้น ปฏิบัติงานจนได้ผลลัพธ์ตามนโยบาย แนวทางปฏิบัติ หรือตามที่กฎหมายกำหนดไว้อย่างแท้จริง



เมื่อตรวจสอบครบถ้วนตาม Audit Program ทีมผู้ตรวจ จะเร่งรวบรวม วิเคราะห์ และจัดทำรายงานผลการควบคุมภายใน(การตรวจสอบ) ต่อไป



ขั้นตอนที่สี่ : การจัดทำรายงานผลการควบคุมภายใน (การตรวจสอบ)

เมื่อได้รับข้อมูล ข้อเท็จจริง และเอกสารเพิ่มเติมต่างๆ ที่ได้ในขั้นตอนการตรวจสอบทั้งในระดับ Offsite และOnsite ครบถ้วนแล้ว ทีมผู้ตรวจสอบ จะได้จัดทำรายงานผลการตรวจสอบภายในด้านการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง ซึ่งรายงานการการควบคุมภายใน (การตรวจสอบ)ดังกล่าว จะประกอบด้วย


  1. ผลการตรวจสอบนโยบายและเอกสารที่เกี่ยวข้องในขั้นตอนการตรวจ Offsite
  2. ผลการตรวจสอบการปฏิบัติงานตามนโยบายและเอกสารที่เกี่ยวข้องในขั้นตอนการตรวจ Onsite
  3. การพบข้อบกพร่องในการปฏิบัติตามกฎหมาย ปปง. และ กฎหมาย ปกอ. (ถ้ามี)
  4. การปฏิบัติที่ไม่เพียงพอตามกฎหมาย (ถ้ามี)
  5. ข้อแนะนำในการปฏิบัติตามกฎหมาย ปปง. และ กฎหมาย ปกอ.
  6. แผนงานที่ควรดำเนินการในปีต่อไปเพื่อพัฒนาหรือปรับปรุงให้องค์กรสามารถปฏิบัติตามกฎหมาย ปปง. และ กฎหมาย ปกอ. ได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด


ขั้นตอนที่ห้า : การประชุมเสนอผลการควบคุมภายใน(การตรวจสอบ) กับผู้เกี่ยวข้อง

เมื่อทีมผู้ตรวจสอบ ได้นำส่งรายงานการควบคุมภายใน(การตรวจสอบ) ให้แก่บริษัทแล้ว ทีมผู้ตรวจจะนัดหมายประชุมกับผู้บริหารระดับสูงขององค์กร บุคลากรที่เกี่ยวข้องในส่วนงาน/ฝ่าย/แผนก ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติตามกฎหมาย ปปง.และกฎหมาย ปกอ. รวมถึงคณะทำงานในโครงการนี้ เพื่อนำเสนอรายงานผลการตรวจสอบภายใน ซึ่งจะทำให้ผู้บริหารรับทราบและเข้าใจในความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการตามผลการตรวจสอบภาย รวมถึงเพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานในส่วนงาน/ฝ่าย/แผนก ที่เกี่ยวข้องสามารถซักถามหรือขอคำแนะนำในการปฏิบัติให้เป็นไปตามรายงานผลการตรวจสอบภายในได้อย่างมีประสิทธิภาพ


ผลลัพธ์


  1. บริษัทได้ปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง ได้อย่างครบถ้วนและมีประสิทธิภาพ
    
  2. บริษัทมีรายงานผลการควบคุมภายใน(การตรวจสอบ)ด้านการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง ตามประกาศสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน เรื่อง การกำหนดและดำเนินการตามนโยบายและระเบียบวิธีการเกี่ยวกับการควบคุมภายในของสถาบันการเงินและผู้ประกอบอาชีพตามมาตรา 16 พ.ศ. 2564
    
  3. บริษัทจะได้กำหนดแผนงานสำหรับปีถัดไป ในการทบทวนและปรับปรุงนโยบาย ระเบียบวิธีการควบคุมภายในที่เหมาะสมกับความเสี่ยงขององค์กรและรูปแบบธุรกิจอย่างเหมาะสม


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy