2339 จำนวนผู้เข้าชม |
ไขข้อข้องใจ ทะเบียนเกษตรกร ด้านพืช กับกรมส่งเสริมการเกษตร #โควิด19 #เราไม่ทิ้งกัน
Q : เกณฑ์การขึ้นทะเบียนเกษตรกร
A : บุคคลในครัวเรือนคนใดคนนึง หรือ หลายคนที่ประกอบการเกษตร
ฐานทะเบียนเกษตรกร กำหนดให้ 1 ทะเบียนบ้าน = 1 ครัวเรือน (ตั้งแต่ ต.ค.56 เป็นต้นมา)
ต้องประกอบกิจกรรม ดังนี้
4. ประกอบการเกษตร หมายถึง การปลูกพืช การเลี้ยงปศุสัตว์การเลี้ยงสัตว์น้ํา การทํานาเกลือสมุทร
การปลูกหม่อน การเลี้ยงไหม การเพาะเลี้ยงแมลงเศรษฐกิจ และเกษตรอื่นๆ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการบริโภค
หรือจําหน่ายหรือใช้งานในฟาร์ม อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกันดังต่อไปนี้
1) การทํานาหรือทําไร่อย่างใดอย่างหนึ่งหรือ รวมกัน บนเนื้อที่ตั้งแต่หนึ่งไร่ขึ้นไป
2) การปลูกผัก หรือการปลูกไม้ดอกไม้ประดับ หรือการเพาะเห็ด หรือการปลูกพืชอาหารสัตว์อย่างใดอย่างหนึ่ง
หรือรวมกัน บนเนื้อที่ตั้งแต่หนึ่งงานขึ้นไป
3) การปลูกไม้ผลไม้ยืนต้น หรือการปลูกสวนป่า หรือปลูกป่าเศรษฐกิจแบบสวนเฉพาะอย่างใดอย่างหนึ่ง
หรือรวมกัน บนเนื้อที่ตั้งแต่หนึ่งไร่และมีจํานวนต้นตั้งแต่สิบห้าต้นขึ้นไป
4) การปลูกไม้ผล หรือไม้ยืนต้นแบบสวนผสม อย่างใดอย่างหนึ่งหรือรวมกัน บนเนื้อที่ตั้งแต่หนึ่งไร่
และมีจํานวนต้นตั้งแต่สิบห้าต้นขึ้นไป
5) การเลี้ยงแม่โคนม ตั้งแต่หนึ่งตัวขึ้นไป
6) การเลี้ยงโค หรือกระบือ อย่างใดอย่างหนึ่งหรือรวมกัน ตั้งแต่สองตัวขึ้นไป
7) การเลี้ยงสุกร แพะ หรือแกะ อย่างใดอย่างหนึ่งหรือรวมกัน ตั้งแต่ห้าตัวขึ้นไป
8) การเลี้ยงสัตว์ปีก ตั้งแต่ห้าสิบตัวขึ้นไป
9) การเลี้ยงสัตว์น้ํา หรือการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ํา อย่างใดอย่างหนึ่งหรือรวมกัน
10) การทํานาเกลือสมุทร บนเนื้อที่ตั้งแต่หนึ่งไร่ขึ้นไป
11) การปลูกหม่อน การเลี้ยงไหม อย่างใดอย่างหนึ่งหรือรวมกัน
12) การเพาะเลี้ยงแมลงเศรษฐกิจและเกษตรอื่นๆ หมายความว่า การเลี้ยงผึ้งพันธุ์ผึ้งโพรง ชันโรง ครั่ง
จิ้งหรีด ด้วงสาคูไส้เดือนดิน ชีวภัณฑ์และอื่นๆ ที่มีลักษณะเดียวกัน
13) ประกอบการเกษตร อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน นอกเหนือจากหลักเกณฑ์
ที่กําหนดตาม 1) ถึง 12) และมีรายได้ตั้งแต่แปดพันบาทต่อปีขึ้นไป
*การใช้ข้อมูลทะเบียนเกษตรกรเป็นไปตามเงื่อนไขของแต่ละโครงการ
บริษัท กฎหมายและธุรกิจ อินเตอร์ คอนซัลแตนท์ จำกัด
เชี่ยวชาญเรื่องกฎหมายธุรกิจ มีประสบการณ์มากว่า 30 ปี ปัจจุบันเป็นผู้ให้บริการต่อบริษัทห้างร้านธุรกิจ และบริษัทชั้นนำ
ปรึกษากฎหมาย
โทร : 02-185-1895 , 02-712-8205
แฟกซ์ : 02-185-1899
Email : interco@interco.co.th